Pcb Design
จากรูปเพียงคุณมีแค่ Idea ,Concept ,Schematic หรือ Drawing อย่างใดอย่างหนึ่งเราก็สามารถออกแบบให้คุณได้
“เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอิเล็กทรอนิกส์, วงจรไฟฟ้า ตั้งแต่ 1-28 layer ด้วยประสบการณ์ของเราจะทำให้คุณรู้สึกว่า เราเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการ สามารถตอบสนองความต้องการที่คุณมีด้วยเวลาอันรวดเร็ว ประหยัดเวลา อีกทั้งยังมั่นใจได้ว่าวงจรที่ได้รับมีคุณภาพ ตามระดับมาตรฐานสากลอย่างแน่นอน 100% ”
ตัวอย่างที่ 1
งานต้นแบบของลูกค้า ใช้งานได้แต่มีสัญญาณรบกวน เราช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าโดยการออกแบบให้ใหม่ โดยออกแบบตามหลักทฤษฎี ภายใต้ Circuit และการใช้งานเดิม ผลการตอบรับจากลูกค้า คือ ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างที่ 2 ผลงงานการออกแบบ PCB 10 Layer
ตัวอย่างที่ 3
ทางเราได้รับโจทย์ให้ดีไซน์ Electronic Driver Board ทดแทนบอร์ดเก่าเนื่องจากบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในงานอุตสากรรมชนิดหนึ่ง ได้ยกเลิกการจัดจำหน่าย และทางเราได้ปรับปรุง Circuit Design ให้ทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ตัวอย่างที่ 4 ลูกค้ามีไอเดีย ต้องการ Step Up Voltage โดยที่กำหนดขนาดของ PCB ตามที่ต้องการ
ตัวอย่างที่ 5 ลูกค้ามีเพียง Schematic
ผลงานอื่นๆ
ฟรีค่าดีไซน์ ถ้าสั่งทำแผ่น PCB ที่เรา
*** ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯกำหนด ***
บทความพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์
สคีมเมติก ไดอะแกรม (Schematic Diagram)
สคีมเมติก ไดอะแกรม คือการเขียนวงจรด้วยสัญลักษณ์ที่ลากเส้นต่อถึงกัน ซึ่งเป็นการเขียนวงจรที่นิยมใช้งานมากที่สุด เพราะสามารถเขียนวงจรทั้งระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นวงจรเล็ก ๆ จนถึงวงจรขนาดใหญ่ สามารถแสดงความหมายต่าง ๆ ได้ วงจรจะไม่ยุ่ง ยากซับซ้อนใช้พื้นที่ในการเขียนวงจรน้อย การดู การอ่าน และการไล่วงจร ทำได้สะดวก รวดเร็ว
ช่างอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ มีความชำนาญ สามารถอ่าน สามารถไล่วงจร และสามารถเขียนวงจร ในรูปแบบของสคีมเมติกไดอะแกรมได้ทุกคน ซึ่งถือว่าวงจรที่เขียนในลักษณะของสคีมเมติกไดอะแกรมนี้เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กัน ทั่วโลก โดยจะเห็นได้จากแผ่นวงจรของอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ถูกเขียนออกมาในลักษณะของสคีมเมติกไดอะแกรมทั้งสิ้น
การศึกษาทางงานเขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ ความชำนาญ ในการดู การอ่าน การไล่ วงจร การเขียนวงจร ในลักษณะสคีมเมติกไดอะแกรม ด้วยการฝึกฝนการเขียน การอ่าน และไล่วงจรอยู่บ่อย ๆ จะมีส่วนช่วยให้เกิดความ เคยชินและช่วยให้เกิดความชำนาญขึ้นมาได้
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง วงจรแบบไวริงไดอะแกรม เทียบกับ สคีมเมติกไดอะแกรม
Reference :http://www.elecnet.chandra.ac.th/courses/ELEC1101/less3.html
Reference : http://electhai.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
IC (ไอซี) หรือ Integrated Circuit (อินทิเกรตเทด เซอคิท)
คือ วงจรรวม ไอซีเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่รวมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ประกอบเป็นวงจรหรือส่วนของวงจรที่มีขนาดเล็กไว้ใน ชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้ได้แก่ ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน ไดโอด เป็นต้น ดังนั้นไอซีจึงมีหลายขา ไอซีมีหลายชนิดล้วนแต่หน้าที่การทำงานและจะมีหมายเลขประจำตัว เช่น หมายเลข 555, หมายเลข 741 เป็นต้น วิธีดูตำแหน่งขาของไอซี ให้สังเกตจุดบนขอบตัว IC ขาข้างที่อยู่ใกล้จุดเรียกว่า ขาที่1 แล้วให้นับเรียงต่อกันไปตามลำดับ
ชนิดของ IC
- Analog IC (ไอซีแบบอนาล็อก) บางทีเรียกว่า ไอซีเชิงเส้น Linear IC (ลิเนียร์ ไอ ซี) เป็นไอซีที่ทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณ และควบคุมแรงดันไฟฟ้าชนิดของไอซี ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ เรียกว่า OP Amp (ออปแอมป์) หรือ Operation Amplifier (โอเปอเรชั่น แอมพลิไฟเออะ) เป็นวงจรรวมที่ประกอบขึ้นทรานซิสเตอร์หลายๆตัวรวมอยู่ภายใน IC ตัวเดียว จึงทำให้ไอซีออปแอมป์มีอัตราขยายสูงมาก
- Digital IC (ไอซีแบบดิจิตอล) ไอซีดิจิตอลเป็น ไอซีที่ทำหน้าที่ในการสวิทช์ทางดิจิตอล และไมโครโพรเฟสIC 555 หรือในต่างประเทศนิยมเรียกว่า IC 555 Timer (ไอ ซี 555 ไทม์เมอร์) คือ ไอซีที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการสร้างความถี่ขึ้นมาใช้งาน นิยมใช้งานอย่างมากเนื่องจากใช้อุปกรณ์ต่อร่วมน้อย และมีความเสถียรอยู่ในระดับหนึ่ง สามารถควบคุมความถี่ได้ด้วย R (อาร์) และ C (ซี) มีขาใช้งานทั้งหมด 8 ขา จำเป็นใช้งาน 7 ขา สามารถทำงานปกติได้ที่แรงดัน 4.5V – 18V
Reference : th.wikipedia.org/wiki/
ตัวต้านทาน หรือ รีซิสเตอร์ (อังกฤษ: resistor)
เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ทำด้วยลวดต้านทานหรือถ่านคาร์บอน เป็นต้น นั่นคือ ถ้าอุปกรณ์นั้นมีความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะน้อยลง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพาสซีฟสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมขั้วทั้งสอง (V) โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน (I) อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทานของตัวนำมีหน่วยเป็นโอห์ม ( สัญลักษณ์ : Ω ) เขียนเป็นสมการตามกฏของโอห์ม ดังนี้
R = V I {\displaystyle R={V \over I}} {\displaystyle R={V \over I}}
ค่าความต้านทานนี้ถูกกำหนดว่าเป็นค่าคงที่สำหรับตัวต้านทานธรรมดาทั่วไปที่ทำงานภายในค่ากำลังงานที่กำหนดของตัวมันเอง
ตัวต้านทานทำหน้าที่ลดการไหลของกระแสและในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่ลดระดับแรงดันไฟฟ้าภายในวงจรทั่วไป Resistors อาจเป็นแบบค่าความต้านทานคงที่ หรือค่าความต้านทานแปรได้ เช่นที่พบใน ตัวต้านทานแปรตามอุณหภูมิ(อังกฤษ: thermistor), ตัวต้านทานแปรตามแรงดัน(อังกฤษ: varistor),ตัวหรี่ไฟ(อังกฤษ: trimmer), ตัวต้านทานแปรตามแสง(อังกฤษ: photoresistor) และตัวต้านทานปรับด้วยมือ(อังกฤษ: potentiometer)
ตัวต้านทานเป็นชิ้นส่วนธรรมดาของเครือข่ายไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นที่แพร่หลาย ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวต้านทานในทางปฏิบัติจะประกอบด้วยสารประกอบและฟิล์มต่างๆ เช่นเดียวกับ สายไฟต้านทาน (สายไฟที่ทำจากโลหะผสมความต้านทานสูง เช่น นิกเกิล-โครเมี่ยม) Resistors ยังถูกนำไปใช้ในวงจรรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปกรณ์แอนะล็อก และยังสามารถรวมเข้ากับวงจรไฮบริดและวงจรพิมพ์
ฟังก์ชันทางไฟฟ้าของตัวต้านทานจะถูกกำหนดโดยค่าความต้านทานของมัน ตัวต้านทานเชิงพาณิชย์ทั่วไปถูกผลิตในลำดับที่มากกว่าเก้าขั้นของขนาด เมื่อทำการระบุว่าตัวต้านทานจะถูกใช้ในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์
ความแม่นยำที่จำเป็นของความต้านทานอาจต้องให้ความสนใจในการสร้างความอดทนของตัวต้านทานตามการใช้งานเฉพาะของมัน นอกจากนี้ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทานยังอาจจะมีความกังวลในการใช้งานบางอย่างที่ต้องการความแม่นยำ
ตัวต้านทานในทางปฏิบัติยังถูกระบุถึงว่ามีระดับพลังงานสูงสุดซึ่งจะต้องเกินกว่าการกระจายความร้อนของตัวต้านทานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในวงจรเฉพาะ สิ่งนี้เป็นความกังวลหลักในการใช้งานกับอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ตัวต้านทานที่มีอัตรากำลังที่สูงกว่าก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและอาจต้องใช้ heat sink ในวงจรไฟฟ้าแรงดันสูง
บางครั้งก็ต้องให้ความสนใจกับอัตราแรงดันการทำงานสูงสุดของตัวต้านทาน ถ้าไม่ได้พิจารณาถึงแรงดันไฟฟ้าในการทำงานขั้นต่ำสุดสำหรับตัวต้านทาน ความล้มเหลวอาจก่อให้เกิดการเผาไหม้ของตัวต้านทาน เมื่อกระแสไหลผ่านตัวมัน
ตัวต้านทานในทางปฏิบัติมีค่าการเหนี่ยวนำต่ออนุกรมและค่าการเก็บประจุขนาดเล็กขนานอยู่กับมัน ข้อกำหนดเหล่านี้จะมีความสำคัญในการใช้งานความถี่สูง ในตัวขยายสัญญาณเสียงรบกวนต่ำหรือพรีแอมป์ ลักษณะการรบกวนของตัวต้านทานอาจเป็นประเด็น การเหนี่ยวนำที่ไม่ต้องการ, เสียงรบกวนมากเกินไปและค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้
ในการผลิตตัวต้านทาน ปกติพวกมันจะไม่ได้ถูกระบุไว้เป็นรายต้วของตัวต้านทานที่ถูกผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตระกูลของ ตัวต้านทานเดี่ยวก็มีคุณลักษณะตาม form factor ของมัน นั่นคือ ขนาดของอุปกรณ์และตำแหน่งของขา (หรือขั้วไฟฟ้า) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในการผลิตจริงของวงจรที่นำมันไปใช้
ชนิดของตัวต้านทาน ตัวต้านทานที่ผลิตออกมาในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ในกรณีที่แบ่งโดยยึดเอาค่าความ ต้านทานเป็นหลักจะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor)
2. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (Adjustable Resistor)
3. ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor)
ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor) ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่มีหลายประเภท ในหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวประเภทที่มีความนิยม ในการนำมาประกอบใช้ในวงจร ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป ดังนี้
1. ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)
2. ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ ( Metal Film)
3. ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film)
4. ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)
5. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา ( Thick Film Network)
6. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง ( Thin Film Network)
ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับแบบไวร์วาวด์ แต่โดยส่วนใหญ่บริเวณลวดตัวนำ จะไม่เคลือบด้วยสารเซรามิคและมีช่องว่างทำให้มองเห็นเส้นลวดตัวนำ เพื่อทำการลัดเข็มขัดค่อมตัวต้านทาน โดยจะมีขาปรับให้สัมผัสเข้ากับจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นลวดของความต้านทาน
ตัวต้านทานแบบนี้ส่วนใหญ่มีค่าความต้านทานต่ำ แต่อัตราทนกำลังวัตต์สูง การปรับค่าความต้านทานค่าใดค่าหนึ่ง สามารถกระทำได้ในช่วงของความต้านทานตัวนั้น ๆ เหมาะกับงาน ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงความต้านทานเสมอ ๆ ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้
ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor) โครงสร้างภายในทำมาจากคาร์บอน เซรามิค หรือพลาสติกตัวนำ ใช้ในงานที่ต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานบ่อย ๆ เช่นในเครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์ เพื่อปรับลดหรือเพิ่มเสียง, ปรับลดหรือเพิ่มแสงในวงจรหรี่ไฟ
มีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่นโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) หรือพอต (Pot)สำหรับชนิด ที่มีแกนเลื่อนค่าความต้านทาน หรือแบบที่มีแกนหมุนเปลี่ยนค่าความต้านทานคือโวลลุ่ม (Volume) เพิ่มหรือลดเสียงมีหลายแบบให้เลือกคือ 1 ชั้น, 2 ชั้น และ 3 ชั้น เป็นต้น ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ไม่มีแกนปรับโดยทั่วไปจะเรียกว่า โวลลุ่มเกือกม้า หรือทิมพอต (Trimpot)
Reference : th.wikipedia.org/wiki/
ลิ้งค์สาระหน้ารู้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์